หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
ชม Video โอลิมปิก  ปักกิ่ง 2008 (Beijing 2008  Olympic Games)
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมา
เชิญชม การ์ตูนแอนนิเมชั่น  เสี้ยวลิ้มยี่  (The Legend of Shaolin Kung Fu)
เชิญชม VDO น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
เชิญชม ประวัติศาสตร์การเมือง ตอน ปิดตำนานทักษิณ
เจ้าแม่กวนอิม
ชมตัวอย่างภาพยนตร์,หนัง
ฐานิยปูชา ๒๕๕๒
ฐานิยปูชา ๒๕๕๑
คลังเก็บรูปภาพ

วัดระฆังโฆษิตาราม



วัดระฆังโฆษิตาราม

วัดระฆังโฆษิตาราม


“ วัดระฆังชื่อมีความหมายคือเสียงแห่งสวรรค์ ไปกราบไหว้ให้มีชื่อเสียง หรือเจริญก้าวหน้า ด้วยเกียรติยศของชีวิตในปีเถาะนี้ จะเป็นการเสริมให้ดวงชะตาของคนกราบไหว้ มีความโด่งดัง และมีชื่อเสียง อันเป็นผลบุญที่ดีให้ชีวิตตัวเองมีพลังเตือนภัย เพราะระฆังจะเปล่งเสียงสะท้อน ก้องไปทั้งสามโลกเลยทีเดียว ” วัดระฆัง แทนดาวพฤหัสบดี สวดคาถาประจำวันเกิด ไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไหว้พระประธาน สวดคาถาชินบัญชร ทำบุญด้วยการเติมน้ำมันตะเกียง ปิดทองมงคลหลวงพ่อโต

วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร
อาณาเขตที่ดินตั้งวัด : ทิศเหนือติดต่อกับดรงเรียนสุภัทรา ทิศใต้ติดต่อกับคลองวัดระฆัง และเขตทหากรมอู่ทหารเรือ ทิศตะวันออกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาและทิศตะวันตกติดต่อกับถนนอรุณอัมรินทร์
ลักษณะพื้นที่ของวัด : เป็นพื้นที่ราบตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงกับท่าช้าง วังหลวง และ พระบรมมหาราชวัง ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์ วัดนี้มาการคมนาคมติดต่อได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำมีเรือข้ามฟากจากท่าช้างวังหลวงไปยังท่าวัดระฆัง และทางบกมีซอยวัดระฆังแยกจากถนนอรุณอัมรินทร์

ประวัติความเป็นมา
เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์ แล้วยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และโปรดฯ ให้มีการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดนี้ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวัง ผลัดเวรกับพระสงฆ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ในรัชกาลนี้ได้มีการขุดพบระฆังที่มีเสียงไพเราะกังวาน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงทรงขอไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรงบริเวณที่ขุดพบระฆังโปรดฯ ให้ขุดเป็นสระน้ำ เพื่อประดิษฐานหอไตร หอไตรนี้เดิมคือพระตำหนักและหอนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อครั้งรับราชการเป็นพระราชวรินทร์ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ป้จจุบันหอไตรหลังนี้ ได้ถูกรื้อย้ายไปปลูกใหม่บริเวณกำแพงแก้ว ตรงด้านหลังพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก

สิ่งสำคัญภายในวัด และ ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
1. พระอุโบสถ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นแทนพระอุโบสถหลังเก่า มีลักษณะโดยเฉพาะมุขทางด้านหน้าและหลัง ทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว หน้าบันจำหลักลายทำซุ้มหน้าต่างสองซุ้มแทนแผงแลคอสองเป็นขบวน
2. พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระดำรัสที่กล่าวถึงพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆัง ซึ่งเป็นพระหล่อประทับนั่งปางสมาธิกั้นด้วยเศวตฉัตร 9 ชั่น เดิมเป็นฉัตรกั้นเมรุของรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ขอให้นำไปถวายประธานวัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเศวตฉัตรจากผ้าตามขาว มาเป็นผ้าขาวลายฉลุปิดทองโดยใช้โคลงของเก่า และมีการเปลี่ยนผ้าอีกครั้งใน พ.ศ. 2504 โดยรัชกาลปัจจุบัน
3. ใบเสมาวัดระฆัง มีอยู่ 2 อัน ซ้อน
4. จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ ภาพชุดนรก และภาพทศชาติ ซึ่งเขียนโดยพระวรรณวาดวิจิตร์ (ทอง จารุวิจิตร์) เมื่อ พ.ศ. 2465
5. หอระฆังจตุรมุข รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพร้อมระฆัง 5 ลูก พระราชทานแทนระฆังที่ทรงขอไปไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
6. พระปรางค์ใหญ่ รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมพระกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ สมเด็จกรมพระยาเทพสุดาวดี
7. เจดีย์เจ้าสามกรม คือพระเจดีย์นราเทเวศร์ พระเจดีย์นเรศร์โยธี และพระเจดีย์เสนีย์บริรักษ์ เป็นพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ 3 องค์ สร้างเรียงกันอยุ่ภายในบริเวณกำแพงแก้ว ด้านทิศเหนือ สร้างโดยกรมหมื่นนราเทเวศร์ หรมหมื่นนเรศร์โยธี และ กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
8. พระวิหารเดิม เป็นพระอุโบสถเก่าของวัดบางหว้าใหญ่
9. ศาลาการเปรียญ เดิมเป็นศาลาการเปรียญสำหรับแสดงธรรม ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ฝึกกรรมบานของแม่ชีและอุบาสิกา ภายในมีพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ


วัดระฆังโฆษิตาราม

วัดระฆังโฆษิตาราม


10. ตำหนักทอง รัชกาลที่ 1 ทรงรื้อตำหนักทองอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังเดิมมาปลูกที่วัดระฆังทางด้านใต้ของพระอุโบสถ ทรงอุทิศเป็นสังฆบูชา ถวายให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชสี
11. ตำหนักแดง กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร์ พระนามเดิมว่า "ทองอิน" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงถวาย ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของพระอุโบสถหลังใหม่ ฝารูปสกลกว้างประมาณ 4 วาเศษ ระเบียงกว้างประมาณ 1 วา 2 ศอก ยาวประมาณ 8 วาเศษ ฝาประจันห้อง เขียนรูปภาพอสุภต่าง ๆ ชนิดมีภาพพระภิกษุเจริญอศุภกรรมฐาน เดิมเป็นที่ประทับทรงกรรมฐานของพระเจ้ากรุงธนบุรี
12. ตำหนักเก๋ง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 อยู่ทางทิศใต้ของวัด ปัจจุบันเหลือแต่รากฐานใต้ดิน ตำหนักนี้พระองค์ใช้ประทับขณะผนวช
13. พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช(สี) ภายในประดิษฐานพระรูปพระศรีอาริย์ เป็นที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราช(สี) พระรูปองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่บนมุขพระปรางค์ทิศตะวันออก
14. พระวิหารสมเด็จ ภายในประดิษฐานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระพุทธาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนียวงศ์) และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)
15. หอพระไตรปิฏก เดิมสร้างอยู่กลางสระด้านหลังพระอุโบสถ ปัจจุบันทางวัดได้ย้ายเข้ามาปลูกไว้ใหม่
ภายในบริเวณกำแพงเก้วพระอุโบสถ โดยสร้างอยู่ทางด้านหลัง ด้านทิศตะวันตกสร้างเป็นสามหลังแฝด เดิมเป็นพระตำหนักของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแต่ครั้งยังรับราชการอยู่กรุงธนบุรี รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้รื้อพระตำหนักเดิมและหอประทับนั่งมาเป็นหอพระไตรปิฏกถวายวัดระฆัง หอพระไตรปิฏกนี้ปลูกสามหลักแฝดเรียงกัน มีระเบียงอยู่ทางด้านหน้าไขราปีกนก มีทวยรับชั้นหลังคา หอไตรนี้แต่เดิมปลูกเป็นตำหนักที่ประทับนั้นคงจะมีทั้งเรือนนอก เรือนขวางหรือเรือนรี และหอหน้าหรือหอนั่ง มีชานกลางถึงกันโดยตลอด ในสมัยเดิมฝาที่ใช้คงเป็นฝาสำหรวด หลังคาคงจะมุงจาก ครั้งเมื่อรื้อมาสร้างเป็นหอพระไตรหิฏก คงจะตัดเรือนนอกออกโดยยุบเอาเรือนขวางสองด้าน ปลูกขนานกันและเอาหอหน้าหรือเรือพะไลใส่กลางโดยตัดพะไลออก เรือนหลังกลางหลังคาจึงยกสูงกว่าเรือนข้างสองหลัง เมื่อเปลี่ยนเป็นหอพระไตรปิฏก หลังคาที่มุงจากเปลี่ยนเป็นกระเบื้องแบบธรรมดา มีกระจังเชิงชายที่ชายคา หน้าบันเป็นหน้าบันชนิดลูกฟักธรรมดามีทวยจำหลักเป็นพญานาครับไขราปีกนก หลังคาหน้าต่างมีหย่องลูกแก้วทำเป็นพนักกรง ฝาผนังทางด้านนอกทางสีดินแดง ส่วนภายในเขียนภาพสีฝีมืออาจารย์นาคเป็นภาพชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น

ปัจจุบันวัดระฆังฯจะเปิดให้ผู้คนเข้ามา 08.00-16.00 น.

สถานที่ ตั้ง : อยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์แขวงศิริราชเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร

การเดินทาง : โดยรถประจำทางต้องขึ้นสาย 19 57 83 ทางเรือโดย เรือด่วนเจ้าพระยา ลงท่ารถไฟหรือท่าวังหลังก็ได้ หรือลงเรือข้ามฟากจากท่าช้างไปท่าวัดระฆัง

พิธีการไหว้คือ สักการะสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ด้วยธูป 3 ดอกเทียนคู้ ทองคำเปลว 3 แผ่น หมากพลู

คลิกที่นี่ เพื่อชมภาพวัดระฆังโฆษิตาราม และ ภาพต่างๆ ของวัดทั้ง 9


วัดระฆังโฆษิตาราม

วัดระฆังโฆษิตาราม







•วิดีโอ ซีอีโอธรรมะ พบ ซีอีโอโลก ตอนที่ 1

•วิดีโอ ซีอีโอธรรมะ พบ ซีอีโอโลก ตอนที่ 2

•วิดีโอ ซีอีโอธรรมะ พบ ซีอีโอโลก ตอนที่ 3

•วิดีโอ ซีอีโอธรรมะ พบ ซีอีโอโลก ตอนที่ 4

•คนค้นคน อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ตอนที่ 1

•คนค้นคน อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ตอนที่ 2

•วิดีโอ นี่หรือชีวิต

•แอนนิเมชั่น ประกอบเพลง ดั่งดอกไม้บาน (ภาษาไทย)

•แอนนิเมชั่น ประกอบเพลง ดั่งดอกไม้บาน (ภาษาอังกฤษ)

•เชิญชม วีดีโอ เรารักแม่

•เชิญชม วีดีโอ ชีวิตที่ร่ำไห้ ตอนที่ 1

•เชิญชม วีดีโอ ชีวิตที่ร่ำไห้ ตอนที่ 2

•เชิญชม วีดีโอ ชีวิตที่ร่ำไห้ ตอนที่ 3 (ต่างกันในกาย)

•เชิญชม วีดีโอ ชีวิตที่ร่ำไห้ ตอนที่ 4 (จบ)



•เชิญชม Wallpapers มาสคอตโอลิมปิกปักกิ่ง 2008 ,สนามกีฬาโอลิมปิกต่างๆ และภาพกีฬาโอลิมปิก 2008

•เชิญชม Wallpapers พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008

•เชิญชม Wallpapers ภาพกีฬามันส์ ๆ ในปักกิ่งเกมส์ 2008

•เชิญชม Wallpapers พิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008

•เชิญชม Wallpapers ภาพกีฬาพาราลิมปิก 2008

•เชิญชม Video กีฬาโอลิมปิก 2008 ปักกิ่งเกมส์

ชม วิดีโอหนังภาพยนตร์
•Dragonball Z ตอนที่ 238 - ฝันร้ายรอบสอง จอมมารบูยังไม่ตาย
•Dragonball Z ตอนที่ 239 - พวกบีเดลก็สู้เต็มที่ ต้องตามหาดราก้อนบอลให้ได้
•Dragonball Z ตอนที่ 240 - ความหวังมาแล้ว ท่าไม้ตายใหม่ของพวกตัวจิ๋ว
•Dragonball Z ตอนที่ 241 - โกเทน ทรังก์ ถูกหมายหัวไปทั่วโลก
•Dragonball Z ตอนที่ 242 - โกฮังคืนชีพอาวุธลับของท่านมหาเทพ
•Dragonball Z ตอนที่ 243 - ดึงออกแล้วดาบแซดในตำนาน
•Dragonball Z ตอนที่ 244 - เมืองหลวงทางตะวันตกอยู่ในอันตรายต้องหยุดจามมารบู
•Dragonball Z ตอนที่ 245 - การแปลงร่างที่หน้าตกใจ ซุปเปอร์ไซย่า 3
•Dragonball Z ภาค จอมมารบู ตอนที่ 1 - บ๊ายบายบาบีดี้จอมมารบูทรยศซะแล้ว
•Dragonball Z ภาค จอมมารบู ตอนที่ 2 - น่าเกลียดชะมัด ฝึกท่าพิเศษท่าโพสแปลงร่างที่ทุเรศเกินทำใจ
•Dragonball Z ภาค จอมมารบู ตอนที่ 3 - แล้วเจอกันนะทุกคน โงกุนกลับโลกหน้า
•Dragonball Z ภาค จอมมารบู ตอนที่ 4 - โกฮังกับการฝึกมหาโหดบนดาวอาณาจักรมหาเทพ
•Dragonball Z ภาค จอมมารบู ตอนที่ 5 - โกหกน่าดาบแซดนะ หักซะแล้วหรอนี่
•Dragonball Z ภาค จอมมารบู ตอนที่ 6 - ยอดมนุษย์รวมร่างมาแล้ว เขาชื่อว่าโกเท็นครูซ
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (1)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (2)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (3)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (4)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (5)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (6)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (7)
•The Forbidden Kingdom “เฉินหลง ปะทะ เจ็ทลี” (8)
•หนังตัวอย่าง เบื้องหลัง “The Forbidden Kingdom - behind the scene”




ไปด้านบน
O 8