หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

ตอนที่ 2 ค้นหาแผ่นดินเกิดพระพุทธเจ้า

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

บริเวณเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ที่ติเลาราโกต ประเทศเนปาล

ในที่สุดพวกเขาก็พบเมืองโบราณรกร้างแห่งหนึ่งชื่อติเลาราโกต หรือป้อมปราการแห่งติเลารา เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับเมืองกบิลพัสดุ์ ในเอกสารทางประวัติศาสตร์และคัมภีร์พุทธศาสนาหลายฉบับได้ระบุไว้ว่า

ห่างออกไปทางทิศเหนือราว 16 กิโลเมตรคือเชิงเขาหิมาลัย

มีสวนลุมพินีวันอยู่ทางทิศตะวันออก ในระยะ 35 กิโลเมตร

ทิศตะวันตกมีแม่น้ำสายเล็กๆ สาขาของแม่น้ำคงคาไหลผ่าน

ส่วนทางทิศใต้ คือตำแหน่งของเมืองโกติฮาวา เมืองโบราณที่ระบุไว้ในบันทึกพระถังซัมจั๋ง

มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ติเลาราโกตหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2442 จนถึงวันนี้ ได้พบหลักฐานมากมายที่ยืนยันความเป็นนครโบราณที่มีอายุเก่าแก่ก่อน พระพุทธเจ้า ประสูติถึง 100 ปี และเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 7 ก่อนนครแห่งนี้จะถูกทิ้งร้างไป

ประตูเมืองด้านตะวันออกของกบิลพัสดุ์ ที่ระบุไว้ว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกผนวช

พสันตา พิทารี อธิบายภาพตรงหน้าให้ฉันฟังว่า “เราพบว่าที่นี่เป็นเมืองเก่าราว 100 ปีก่อนพุทธกาลแน่นอน จากร่องรอยกำแพงเก่า มันเป็นแนวเส้นตรง แล้วเลี้ยวมาทางนี้ แสดงว่าต้องมีโครงสร้างของกลุ่มอาคารเก่าจากที่เราขุด เราพบว่าเมืองนี้มีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีคูเมืองและประตูเมืองสี่ทิศ ภายในเมืองมีถนนกว้างเกือบ 6 เมตร ที่นี่เคยเป็นเมืองที่มั่งคั่ง มีร้านค้าตั้งอยู่สองฟากถนน ตรงนี้เป็นร้านช่างเหล็ก ประชาชนมีอาชีพค้าขาย ทำไร่ทำนา แล้วก็เลี้ยงสัตว์

ในจำนวนเนินดินทั้ง 8 แห่งภายในกำแพงเมือง หนึ่งในนั้นเราได้ขุดพบโครงสร้างของอาคารที่เราสันนิษฐานว่าเดิมอาจจะเป็นปีกวังด้านเหนือของพระราชวังหลวงที่พระเจ้าสุทโธทนะประทับ วังหลวงมักอยู่ตรงกลางและมีอาคารต่อเนื่องไปรอบๆ แต่ละอาคารก็ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน ตรงนี้อาจเป็นส่วนของเนินดินลูกอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ขุดสำรวจ โดยเฉพาะเนินลูกกลางที่สูงที่สุด อาจเป็นอาคารที่เป็นพระราชวังหลวง... เราจะเริ่มขุดกันอีกครั้งเร็ว ๆ นี้”

ฉันได้เห็นประตูกำแพงเมืองด้านตะวันออก ซึ่งเป็นจุดที่ระบุไว้ในพุทธประวัติว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชโดยทรงม้ากัณฐกะไปทางประตูนี้

คุณพสันตาชี้ให้ฉันมองผ่านประตูออกไปที่ทุ่งนากว้าง จะเห็นสถูปเล็กๆ เชื่อว่าสร้างไว้เป็นอนุสรณ์สถานให้ม้ากัณฐกะที่ตายขณะที่เดินทางกลับวังมาลำพัง

ประตูเมืองด้านตะวันออกของกบิลพัสดุ์ ที่ระบุไว้ว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกผนวช

ความสำคัญของกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่ได้จบลงพร้อมกับการเสด็จละทิ้งชีวิตในวังไปแสวงหาความหลุดพ้น แต่หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ระยะหนึ่ง พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาก็ได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์

จากเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ไปทางใต้ราว 5 กิโลเมตร ทีมนักโบราณคดียังได้พบสถานที่ที่ พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับที่เมืองกบิลพัสดุ์ โดยอ้างอิงจากตำแหน่งที่พระถังซัมจั๋งระบุไว้ในบันทึก และจากคัมภีร์ พุทธศาสนา เช่นกัน นั่นคือวัดนิโครธาราม พระสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก ณ ตำแหน่งที่พระนางปชาบดีถวายผ้าสังฆาฏิแด่ พระพุทธเจ้า และได้บูรณะใหม่อีกครั้งในสมัยคุปตะ คือเมื่อราว 1,000 ปีหลังยุคพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับที่วัดนิโครธารามหลายครั้งและได้แสดงธรรมโปรดชาวกบิลพัสดุ์ จนกล่าวกันว่าในสมัยนั้นมีชาวกบิลพัสดุ์ ทั้งประชาชนและพระญาติในศากยวงศ์บวชเป็นพระสงฆ์นับหมื่นรูป

บริเวณเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ที่กานวาเรีย ประเทศอินเดีย

ขณะที่ทางเนปาลค้นพบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ากลุ่มโบราณสถานที่ติเลาราโกตเป็นเมืองกบิลพัสดุ์ เวลาเดียวกัน ทางฝ่ายอินเดียเองก็อ้างว่าได้ค้นพบกรุงกบิลพัสดุ์เหมือนกัน เพราะมีการขุดค้นพบร่องรอยของโบราณสถานหลายแห่งที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อว่ากานวาเรีย ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนอินเดีย-เนปาล ไม่กี่กิโลเมตร

เมืองกบิลพัสดุ์จริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน ในอินเดีย หรือเนปาล เป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งสองแห่งอยู่ในอาณาเขตของเมืองเดียวกัน

ฉันเดินทางมาถึงแหล่งโบราณสถานที่กานวาเรีย (Ganwaria) เป็นตำแหน่งที่กองโบราณคดีอินเดียเชื่อว่าคือพระราชวังและตัวเมืองกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะ ซึ่งขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2441

ปัจจุบันการขุดค้นยังคงดำเนินต่อไป หลังจากที่ได้พบอาคารขนาดใหญ่สร้างด้วยอิฐเผาสองหลัง นักโบราณคดี พบว่าโครงสร้างอิฐนี้สร้างเมื่อ 100 ปีก่อนพุทธกาล ถึงพุทธศักราชที่ 300 มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยม มีลานกว้างตรงกลาง ล้อมรอบด้วยห้องขนาดเล็กทั้งสี่ด้านกว่า 20 ห้อง

โบราณสถานหลังใหญ่นั้นเชื่อว่าเป็นพระราชวังกบิลพัสดุ์ กำแพงด้านตะวันออกของอาคารมีประตูใหญ่ที่อาจเป็นประตูที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช

ปัจจุบัน นักโบราณคดี ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ คุณฎสันตาซึ่งเป็น นักโบราณคดี เนปาลบอกว่า กลุ่มโบราณสถานในเขตอินเดียนี้น่าจะเป็นวัดมากกว่าวัง เพราะวังควรจะอยู่ในย่านชุมชนเมือง แต่กลับไม่พบหลักฐานที่แสดงความเป็นชุมชนเมืองแต่อย่างใด ที่สำคัญ ได้พบแผ่นจารึกอักษรว่า กบิลพัสดุ์สังฆาราม ซึ่งอาจเป็นชื่อกลุ่มอารามสงฆ์แห่งนี้ก็ได้

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

ที่มา จากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"


ไปข้างบน