หน้าแรก
พระพุทธเจ้า
เสียงธรรมบรรยาย
(เว็บบอร์ด) forum
สารบัญเว็บไทย
คำสอนหลวงพ่อพุธ
รวมรูปภาพ
Guestbook
อ่านมิลินทปัญหา คลิกที่นี่
อ่านจตุคามรามเทพ  คลิกที่นี่
อ่านฐานิโยธรรม  คลิกที่นี่
อ่านฮาธรรมะ พระพยอม  คลิกที่นี่
ขอต้อนรับสู่ โรงแรมเดอะริช

ตอนที่ 2 ค้นหาแผ่นดินเกิดพระพุทธเจ้า

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

เสาพระเจ้าอโศก

สามปีหลังจากที่จัสคาราน ซิงห์พบเสาพระเจ้าอโศกในเนปาล ดร.ฟูห์เรอร์ นักโบราณคดี ชาวเยอรมันจากกองโบราณคดีของอินเดียก็ได้มาพบเสาพระเจ้าอโศกอีกต้นหนึ่งที่ลุมพินี เสาต้นนี้จมดินอยู่ มีส่วนที่โผล่พ้นดินขึ้นมาราว 5 เมตร ไม่มีหัวเสารูปม้าตามที่พระถังซัมจั๋งกล่าวไว้ในบันทึกการเดินทาง

ฉันยังสงสัยอยู่ว่า ถ้าลุมพินีอยู่ในเขตเนปาลแล้ว กรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะจะอยู่ในเขตของเนปาลด้วยหรือไม่ เพราะได้มีการขุดพบกรุงกบิลพัสดุ์ในอินเดียเช่นกัน

คุณพสันตาได้พาฉันมาดูเสาอีกต้นหนึ่งที่นิกลิฮาวา (Niglihawa) ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่จัสคาราน ซิงห์ ได้พบเสาพระเจ้าอโศกในเนปาลเป็นครั้งแรก เสาต้นนี้หักเป็นสองท่อน วางอยู่ริมหนองน้ำ ห่างจากลุมพินีหลายสิบกิโลเมตร

“ดร.ฟูห์เรอร์ก็มาเจอต้นนี้ปีเดียวกับที่เจอต้นที่ลุมพินีด้วย พระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสีทรงบูรณะสถูปของพระโกนาคมน์พุทธเจ้า และเสด็จมาสักการบูชาพร้อมตั้งเสาพระเจ้าอโศกขึ้นที่นี่ เอ้อ...พระโกนาคมน์เป็นชื่อของอดีต พระพุทธเจ้า องค์หนึ่ง...” คุณพสันตาอธิบายถึงความหมายของจารึกบนเสา

ฉันเคยอ่านบันทึกการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง ที่กล่าวถึงเมืองโบราณสองเมือง อยู่ห่างจากเมืองกบิลพัสดุ์ไม่ไกลนัก ได้พบสถูปบรรจุพระธาตุ และเสาพระเจ้าอโศกที่มีรูปสิงห์จำหลักบนหัวเสาทั้งสองเมือง

เสาพระเจ้าอโศกรูปสิงห์

คุณพสันตาบอกว่าเมืองแรกก็คือนิกลิฮาวานี่เอง ส่วนเมืองที่สองชื่อโกติฮาวา (Gotihawa)

โกติฮาวามีความสำคัญในตำนานพุทธศาสนาว่าเป็นสถานที่ประสูติและนิพพานของพระกกุสันธพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอดีต พระพุทธเจ้า ในสมัยหกหมื่นปีมาแล้ว

หลักฐานที่พบในหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่โกติฮาวาคือสถูปโบราณและเสาพระเจ้าอโศกอีกต้นหนึ่ง แม้ว่าจะเหลือแต่โคนเสาก็ตาม พิสูจน์ได้ว่าทั้งสถูปและ

เสาพระเจ้าอโศกนี้มีอายุร่วมสมัยเดียวกัน คือราวกลางพุทธศตวรรษที่ 3 ซึ่งเป็นรัชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช

แม้ว่าพระเจ้าอโศกจะทรงนับถือพุทธนิกายเถรวาท แต่ก็ทรงถวายการบูชาพระอดีตพุทธเจ้า ซึ่งไม่ใช่ธรรมเนียมของเถรวาทดั้งเดิม แสดงว่าแนวคิดแบบมหายานได้เกิดขึ้นแล้วในสมัยนี้ คือราว 200 ปีหลังจากที่ พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพาน

วิธีการขนย้ายเสาพระเจ้าอโศก

ไม่มีบันทึกว่าพระเจ้าอโศกได้ทรงสร้างเสาไว้จำนวนเท่าไหร่ แต่ตลอดระยะเวลากว่า 2,200 ปีที่ผ่านมา มีการสำรวจพบอยู่ราว 20 ต้น นักโบราณคดี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เสาที่พบล้วนสร้างด้วยหินทรายจากเมืองจุนนาซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตร สร้างเสร็จแล้วจึงขนย้ายไปติดตั้งยังสถานที่ต่างๆ น่าสนใจว่าผู้คนในยุคนั้นขนย้ายเสาหินขนาดมหึมาเหล่านี้กันอย่างไร

พสันตา พิทารี เล่าให้ฟังว่า “พระเจ้าอโศกเสด็จมาที่นี่เมื่อครองราชย์ได้ 20 ปี ทรงนำเสาหินหนัก 37 ต้นมาที่ลุมพินี เสาหินทั้งหมดที่ทรงนำมาที่นี่ 3 ต้น รวมแล้วก็หนักถึง 120 ตัน สมัยนั้นไม่มีระบบขนส่ง ต้องลำเลียงมาทางบกหรือทางน้ำเท่านั้น และถ้าใช้ทางบกก็ต้องมีถนน ที่บริเวณนี้เรายังพบหินมีค่ามากกว่า 18 ชนิดที่ใช้ทำลูกปัด ซึ่งไม่ใช่หินที่มีในแถบนี้เลย เป็นหินที่มาจากฝั่งตะวันตก มีพ่อค้านำมาขายแล้วซื้อของพื้นเมืองกลับไป เรายังพบเหรียญที่มาจากแคว้นอื่นๆ เช่น ศุงคะ กุศานะ แสดงว่ามีพ่อค้านำมาที่นี่ ถ้าไม่มีถนนแล้วของพวกนี้จะมาที่นี่ได้อย่างไร”

บริเวณที่พบเสานั้น เมื่อนำมาเรียงต่อกันจะเห็นว่าอยู่ในแนวเดียวกับเส้นทางการค้าสมัยพุทธกาล ที่เรียกว่าอุดรปาต หรือทางสายเหนือ เป็นเส้นทางการค้าจากเมืองราชคฤห์ไปเมืองตักสิลา ซึ่งแน่นอนว่าถนนน่าจะต้องตัดผ่านเมืองสำคัญอย่างกบิลพัสดุ์และลุมพินีด้วย การพบเสาพระเจ้าอโศกที่นี่ถึง 3 เสา ทำให้เชื่อกันว่าเมืองกบิลพัสดุ์จะต้องอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางนี้แน่

วิธีการขนย้ายเสาพระเจ้าอโศก

หลังจากที่ นักโบราณคดี พยายามตามรอยเสาพระเจ้าอโศก และตำนานการสร้างเมืองกบิลพัสดุ์ที่ระบุว่า ชาวศากยะได้สร้างเมืองหลวงขึ้นที่ดงไม้สักกะ บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ใกล้กับแม่น้ำแห่งหนึ่ง...และตั้งราชวงศ์ศากยะขึ้นตามชื่อดงไม้สักกะ

หน้าที่ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

ที่มา จากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"


ไปข้างบน